วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

 

ประโยชน์ของไม้กวาด
1.  ด้านการใช้งาน
 2.  ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม 
การมีเอกลักษณ์ ลวดลาย ที่สะท้อนใหเห็นถึงความเป็นชุมชน  ขนาดไม้กวาดแบ่งเป็น 4 ขนาด ตามน้ำหนักดอกหญ้าที่ใช้ ดังนี้
1) ดอกหญ้า 1 ขีด ขายในราคา 8 บาท
2) ดอกหญ้า 1.5 ขีด ขายในราคา 11 บาท
3) ดอกหญ้า 2 ขีด ขายในราคา 14 บาท
4) ดอกหญ้า 3 ขีด ขายในราคา 19 บาท
3.  ด้านการเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม และคนในชุมชน
การรวมกลุ่มทำไม้กวาดสามารถระดมหุ้นจากสมาชิกและได้รับงบประมาณ
สนับสนุนจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ , องค์การบริหารส่วนตำบลนางแล, กลุ่มพัฒนาสตรี, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นต้น สมาชิกกลุ่มได้วางแผนร่วมกันในการปลูกไผ่รวกในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อใช้ทำด้ามไม้กวาด
4. ด้านภูมิปัญญา
           มีวิธีการเรียนรู้การผลิต โดยนำของจริงมาแยกแยะ แล้วเรียบเรียงวิธีการ ขั้นตอนการผลิตจากของจริงได้เอง5. ด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน
เกิดความกล้าในการตัดสินใจ ทำไม้กวาด ทั้ง ๆ ที่คนทั่วไปเชื่อว่าไม้กวาดเป็น
ของต่ำ ไม่น่าสนใจทำเป็นอาชีพ แต่กลุ่มทำไม้กวาดกลับเห็นว่าเป็นช่องทางในการทำรายได้เสริม ทดแทนเวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก
6.  ด้านความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับทรัพยากรในท้องถิ่น
             วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นคือ ไม้ไผ่  เอาไว้สำหรับทำด้ามไม้กวาด  ส่วนดอกหญ้าไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่  จึงต้องรับซื้อจากที่อื่นมา
                ใช้ในการกวาดพื้น  ปัดหยากไย่  หรือใช้ในการทำความสะอาดครัวเรือน  คนในชุมชนผลิตใช้เอง และจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว  ไม้กวาดยังมีความทนทาน ใช้งานได้ดี ขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน คุณภาพคงทน ใช้ได้นานไม่หลุดขณะกวาด ทำให้ไม่สิ้นเปลื้องเวลาและพลังงานในการใช้งา



การทำไม้กวาดเสี้ยนตาล

ไม้กวาดเสี้ยนตาลบ้านโนนหมันมีมานานประมาณ 100 ปีแล้ว แม่เลื่อน แคนงูเหลือม อายุ 74ปี ซึ่งอยู่ในเวทีประชาคมเล่าว่า ตนเองเริ่มทำไม้กวาดเสี้ยนตาลเป็นเมื่อมีอายุได้13 ปี โดยเรียนรู้จากพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อเฉยโตเอี่ยมกลาง ป้าสอิ้ง จันทร์โพธิ์ เป็นลูกของพ่อเฉย โตเอี่ยมกลาง เล่าว่าประมาณปีพ.ศ. 2467 ได้ฟังจากพ่อซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการทำไม้กวาดเสี้ยนตาลว่าสมัยก่อนปู่ย่า ตายาย ใช้เสี้ยนตาลกับไม้ไผ่ ทำไซดักปลา ซึ่งมีความเหนียวทนไม่ผุง่ายแม้อยู่ในน้ำ พ่อเฉยจึงได้ทดลอง นำกาบตาลมาทุบแล้วใช้เสี้ยนตาล ทำไม้กวาดใช้ได้นานหลายปีจึงพัฒนารูปแบบโดยใส่ด้ามไม้ไผ่ เดิมชาวบ้านปลูกต้นตาลบริเวณหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้ต้นทำที่อยู่อาศัยทำเรืออีโปง ทำที่ใส่น้ำแทนโอ่งน้ำ ใบใช้มุงหลังคา หมวก ลูกตาลใช้ทำขนม เป็นต้น
แม่พริ้ง มันกลาง เล่าว่าประมาณปีพ.ศ. 2440 ในสมัยนั้นพ่อเฉย โตเอี่ยมกลางและพ่อทอง คีมงูเหลือม เริ่มนำไม้กวาด ไปขายโดยหาบแล้วเดินไปขายในตัวเมือง จังหวัดนครราชสีมาที่ตลาดหลักเมือง (ตลาดเทศบาล 2) วัตถุดิบที่ใช้คือ เสี้ยนตาล ลวด ไม้ไผ่ ขายราคา ด้ามละ 3 สลึง เมื่อพ่อเฉยพ่อทอง นำไม้กวาดไปขายมีรายได้เพิ่มขึ้น และชาวบ้านเมื่อว่างจากทำนา ไม่มีงานทำจึงได้ฝึกทำไม้กวาดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อมาวัตถุดิบเริ่มน้อยลง ต้องเดินทางไปหาจากต่างหมู่บ้าน ตำบล ไม้กวาดเสี้ยนตาลเริ่มมีราคาเพิ่มขึ้นจาก3 สลึงเป็น 1 บาท - 5 บาท
เอกลักษณ์และจุดเด่นผลิตภัณฑ์  
ลักษณะที่โดดเด่นของไม้กวาดเสี้ยนตาลใช้ทำความสะอาดได้หลายอย่าง เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน คอกสัตว์ พื้นโรงงาน ลานตากผลผลิตการเกษตรฯลฯ แข็งแรง ทนทาน
วัตถุดิบและส่วนประกอบ  
วัตถุดิบที่ใช้ทำไม้กวาดที่หาได้ในตำบล และท้องถิ่นใกล้เคียง จากธรรมชาติ และซื้อไม้ไผ่ลวกจากที่อื่นบ้าง ได้แก่
1. กาบตาล นำมาทุบทำเสี้ยนตาล
2. ไผ่ลวก ทำด้าม
3. ลวด
4. เชือกพลาสติก
5. เหล็กบางสำหรับรัดไม้กวาด
อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือทำไม้กวาดเสี้ยนตาลส่วนใหญ่ชาวบ้านคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เองจากภูมิปัญญามาแต่โบราณได้แก่
1. ไม้ฆ้อน สำหรับทุบกาบตาลซึ่งทำจากไม้แก่นที่มีความแข็งแรงเหนียวทำเป็นท่อนขนาดเหมาะมือปลายด้านหนึ่งใหญ่กว่าสำหรับใช้ฟาดทุบกาบตาลส่วนใหญ่ใช้ไม้ตะโก ไม้มะขาม
2. แท่งเหล็กสำหรับเจาะรูแผ่นเหล็กบาง ปลายด้านหนึ่งจะแหลม ทำใช้เอง
3. เขียงรอง ใช้ไม้มะขามต้นใหญ่ๆ ตัดเป็นท่อนสูงพอประมาณ
4. ไม้สาง ใช้ตะปู 2.5- 3 นิ้ว ตอกเป็นซี่ ๆ ถี่ ๆ ลงบนไม้แผ่นหนาประมาณ1 นิ้วขนาดเหมาะมือทำเป็นด้ามถือ สำหรับใช้สางเสี้ยนตาลที่ทุบแล้วเดิมใช้ไม้ไผ่สางเสี้ยนตาล พ่อเฉยได้ผลิตไม้สางขึ้นมาใช้ ปัจจุบันมีผู้คิดทำเครื่องสางเสี้ยนตาลแล้ว1 ครัวเรือนที่บ้านแม่ชิด สำกลาง
5. คีม
6. ฆ้อนตีตะปู
7. พลาสติก
8. เหล็กเจาะแผ่นเหล็ก
9. เข็มถัก ทำจากก้านร่ม
10. กรรไกรหนีบหมาก
11. เครื่องทุบตาล  


 

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำไม้กวาด

การทำไม้กวาด
                
ไม้กวาด เป็นอุปกรณ์ที่ยังจำเป็นต้องใช้ภายในครอบครัว แม้ปัจจุบัน บางบ้านได้นำเครื่องดูดฝุ่นเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบ้านและสถานที่ต่าง ๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการใช้ไม้กวาด ดังนั้น การทำไม้กวาดเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการเสริมรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวได้                       
อุปกรณ์
1. เข็มเย็บกระสอบ
2. เชือกฟาง
3. ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
4. ดอกหญ้า
5. ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว  
ขั้นตอนการทำไม้กวาด
          1.นำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพ ดี
          2. นำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลม
          3. นำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักขึ้นลงแบบหางปลา ให้ได้ 3 ชั้น พร้อมจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน
          4. ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน
          5. นำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า
          6. นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน  โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน
          7. ตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น
        * เคล็ดลับทำให้ไม้กวาดแข็งแรง ควรนำดอกหญ้าตากแดดให้แห้งสนิทก่อนมัด จะได้ไม้กวาดที่มีความแข็งแรง ไม่หลุดง่าย เมื่อถึงเวลาใช้งาน 

เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้
           การทำไม้กวาดมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และเงินลงทุนไม่สูง ผู้สนใจอาจจะเริ่มทำคนเดียวก่อน เมื่อมีรายได้ดี ค่อยขยับขยาย สำหรับแหล่งผลิตนั้น ผู้ผลิตสามารถนำมาทำได้ที่บ้าน และนำไปจำหน่ายตามตลาด หรือสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน และหากผลิตได้มากอาจส่งให้ร้านค้าเพื่อนำไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง

          ไม้กวาดดอกหญ้า เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ เป็นการแนะนำวิธีการทำไม้กวาด ไม้กวาดเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำดอกหญ้ามาสร้างประโยชน์ และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านหรือผู้สนใจ